ชิสุ,ปอมเมอเรเนียน,ปักกิ่ง

ชิสุ (Shih-Tzu)

ตัวเล็ก อดทน แข็งแรง และมีเสน่ห์


คุณสมบัติของสุนัข


  • ขนาดตัว
    เล็ก
  • ดูแลรักษา
    ความสะอาด
    1 ครั้ง/2 สัปดาห์

  • ความยาวขน
    ยาว

  • ออกกำลังกาย
    1 ครั้ง/สัปดาห์
  • พละกำลัง/
    ความแข็งแรง
    ปานกลาง
  • เป็นมิตร
    กับเด็ก
    น้อย
  • ทนต่อ
    อากาศร้อน
    น้อย
  • ทนต่อ
    อากาศหนาว
    ปานกลาง
  • พื้นที่
    ในการเลี้ยง
    ปานกลาง



{pic-alt} ลักษณะทั่วไป

     ชิสุเป็นสุนัขที่แข็งแรง ร่าเริง กระตือรือร้น บรรพบุรุษเป็นสุนัขของชนชั้นสูงในจีน จึงมีลักษณะสง่างาม หัวเชิด หางโค้งงอมาถึงหลัง ถึงแม้จะมีขนาดแตกต่างกันแต่โดยทั่วไปชิสุจะต้องตัวเล็กกะทัดรัด กระนั้นก็ไม่ถึงกับบอบบาง ต้องมีสุขภาพดีและมีโครงสร้างที่ได้มาตรฐาน

{pic-alt} ความเป็นมา

     ชิสุ ชื่อของสุนัขพันธุ์นี้มาจากภาษาจีน แปลว่า สุนัขสิงโตเป็นสุนัขในสามสายพันธุ์ชั้นสูง พวกเดียวกับปักกิ่งและปั๊ก เป็สุนัขที่หรูหราที่สุดจากจักรพรรดิจีน โดยกล่าวว่าพระทิเบตมอบสุนัขพันธุ์ชิสุให้จักรพรรดิจีนเป็นของกำนัล สุนัขพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักนอกอาณาจักรจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 เริ่มจากอังกฤษ ฝรั่งเศส ชิสุเป็นสุนัขตัวเล็กขนยาว เจ้าเสน่ห์มีหางไม่ยาวนักยกสูงขึ้นเหนือหลัง ขนที่หัวมักจะโดนรวบขึ้นแล้วผูกโบว์สีแดงดูสะดุดตามาก มีท่วงทำนองการเดินสูงศักดิ์แบบขุนนาง แต่ลักษณะการเห่าของชิสุจะมีความเป็นเฉพาะตัวอย่างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่มันจะเห่าทักทายด้วยเสียงใหญ่ดังน่ากลัวมากตลอดเวลาจนกว่าเจ้าของจะปรามถ้าเป็นแบบทีคัพก็จะยังดังอยู่มากด้วย

{pic-alt}


{pic-alt} ลักษณะนิสัย

     ปกติชิสุจะมีนิสัย ดุ เห่าเก่งมากและดังมากดูจะเป็นสุนัขอารมณ์ศิลปินซะด้วย หลายครั้งที่พบว่ามันจะไม่เชื่อฟังเจ้าของถ้ามันไม่อยากทำซะอย่าง ขี้ประจบ ตื่นตัว รักษาสะอาด เป็นมิตร ทำให้ปรับตัวได้ดี ชิสุชอบวิ่งและรักความสนุกซึ่งเจ้าของจำเป็นจะต้องพามันออกไปวิ่งออกกำลังกายบ้าง

{pic-alt} การดูแล  

     ชิสุเป็นสุนัขที่เหมาะจะเลี้ยงไว้ในบ้าน ผู้เลี้ยงควรจูงเขาเดินเล่นเป็นประจำวัน ควรอาบน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และเป่าขนให้แห้งทันทีหลังจากที่อาบน้ำเสร็จ กำจัดเห็บหมัดอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อขนของชิสุ ยาว ผู้เลี้ยงควรพาไปตัดแต่งขนและดเล็บอย่งสม่ำเสมอ ส่วนอาหารนั้นผู้เลี้ยงควรให้อาหาร 2 ครั้งต่อวัน ควรให้อาหารตรงเวลา และอาหารที่ให้ควรเป็นอาหารเม็ดมากกว่าอาหารกระป๋อง เพราะชิสุมีขนยาว หากให้กินอาหารกระป๋องจะทำให้เลอะและมีกลิ่นปากได้ ด้านการดูแลสุขภาพผู้เลี้ยงควรพาชิสุไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุนัขบ้าและวัคซีนอื่นๆ ตามตารางที่สัตว์แพทย์ได้กำหนด และควรดูแลสุนัขอย่างใกล้ชิด ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในบ้านตัวเดียวนานๆ เพราะสุนัขอาจมีอาการซึมเศร้าได้


{pic-alt}



{pic-alt} ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม

     ชิสุ มีบุคลิกกระฉับกระเฉง สามารถให้ความรักกับสุนัขได้ มีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ เช่น เล่น แปรงขน ฝึกให้เข้าสังคม เป็นต้น ไมม่จำเป็นต้องมีพื้นที่กว้าง สามารถอยู่ได้ที่อพาร์ตเม้นท์ แต่ควรจะมีเวลาพาไปออกกำลังกาย เผาผลาญพลังงาน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และให้ได้มีโอกาสพาออกไปรู้จักสังคม จะได้ไม่ดุ และอารมณ์ฉุนเฉียวง่ายเมื่อพบเจอคนแปลกหน้า 

{pic-alt} ข้อควรจำ
     ชิสุมีปัญหาเรื่องโรคผิวหนังได้ง่าย ควรใช้แชมพูสำหรับแพ้ง่าย ไม่ควรใช้แชมพูของคนเด็ดขาด ควรแปรงขนเป็นประจำทุกวันเพื่อขจัดขนที่ตายแล้ว รวมทั้งรังแค นอกจากนี้ชิสุยังมีโรคประจำสายพันธุ์คือ โรคหลอดลมตีบ โรคตาแห้ง โรคเชอร์รี่อาย และ โรคหูอักเสบ หากพบมีว่าผิวหนังมีอาการผิดปกติควรปรึกษาสัตวแพทย์

{pic-alt}



{pic-alt} ความน่ารักของสุนัขพันธุ์นี้




ปอมเมอเรเนียน (Pomeranian)

ตัวเล็ก เห่าเก่ง และสวยงาม

คุณสมบัติของสุนัข


  • ขนาดตัว
    เล็ก
  • ดูแลรักษา
    ความสะอาด
    1 ครั้ง/2 สัปดาห์

  • ความยาวขน
    ยาว

  • ออกกำลังกาย
    1 ครั้ง/สัปดาห์
  • พละกำลัง/
    ความแข็งแรง
    น้อย
  • เป็นมิตร
    กับเด็ก
    ปานกลาง
  • ทนต่อ
    อากาศร้อน
    น้อย
  • ทนต่อ
    อากาศหนาว
    ปานกลาง
  • พื้นที่
    ในการเลี้ยง
    น้อย



{pic-alt} ลักษณะทั่วไป

     สุนัขปอมเมอเรเนียนหรือเรียกสั้นๆ ว่า น้องปอมอยู่ในกลุ่ม Toy Group มีขนาดกระทัดรัด หลังสั้น ขนชั้นล่างอ่อนนุ่ม แน่นทึบ ขนชั้นนอก ยาว ฟู มีมาก ค่อนข้างหยาบ ตำแหน่งโคนหางสูง ขนหางแน่น เป็นพวง หางวางราบบนหลัง ปอมส่วนใหญ่ ท่าทางตื่นตัว ร่าเริง อยากรู้อยากเห็น แสดงความฉลาดให้เห็นได้เสมอ มีย่างก้าวที่คล่องแคล่ว สง่างาม และมั่นคง


{pic-alt} ความเป็นมา

     บรรพบุรุษของน้องปอมย้อนกลับไปถึงยุคก่อนคริสตกาล พบภาพวาดในแผ่นหินและรูปหล่อสัมฤทธิ์ตามโลงศพที่พบในอียิปต์ พบโครงกระดูกสุนัขพันธุ์เล็กคล้ายพันธุ์ปอมเมอเรเนียน ในอุโมงค์ที่บรรจุศพสมัยโบราณของชาวอียิปต์
     เชื่อกันว่า ปอมเมอเรเนียนได้รับการพัฒนาให้เป็นน้องปอมในปัจจุบัน ครั้งแรกที่เมืองปอมเมอเรเนีย ประเทศเยอรมัน ตั้งอยู่ในยุโดรเหนือแถบทะเลบอลติก ดินแดนกว้างใหญ่จากตะวันตกของเกาะรูเกนถึงแม่น้ำวิทูลา ที่แห่งนี้มีการเลี้ยงสุนัขอย่างแพร่หลาย ทั้งเพื่อให้เป็นสัตว์และเพื่อให้เป็นสุนัขอารักขา ปอมเมอเรเนียนมีต้นกำเนิดจากพันธุ์สปิทซ์ในสมัยโบราณ บางคนเชื่อว่าสุนัขปอมเมอเรเนียนพัฒนาจากสุนัขพันธุ์ซามอยด์
     ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศรัสเซียแถบไซบีเรีย บางคนเชื่อว่าพัฒนามาจากสุนัขป่า ซึ่งอาศัยอยู่ตามถ้ำในประเทศเยอรมัน และถูกนำมาใช้เป็นสุนัขเลี้ยงแกะในทวีปยุโรปตอนกลางและตอนล่าง นำมาพัฒนาในยุโรปเพื่อช่วยในการเลี้ยงแกะ ซึ่งบรรพบุรุษของปอมฯ น่าจะมีน้ำหนักมากถึง 30 ปอนด์ บางคนเชื่อว่าสุนัขปอมฯ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศกรีซ โดยอ้างหลักฐานจากภาพวาดสมัยโบราณหลายภาพที่มีอายุ 400 ปีก่อนคริสตกาล หรือเกือบประมาณ 2500 ปีมาแล้ว มีภาพของสุนัขขนาดเล็กที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนสุนัขปอมฯ ในปัจจุบัน คือ Stop ที่เด่นชัด ช่วงปากแหลม หูสั้น ลักษณะการเดินและการแสดงออกเหมือนกับที่พบได้ในปัจจุบันทุกประการ ยกเว้นแต่ตำแหน่งของหางที่อยู่ต่ำเกินไปเท่านั้น
     แสดงว่าสุนัขพันธุ์ปอมนี้มีขนาดเล็กมากตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ไม่ใช่เพิ่งพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเมื่อ 40-50 ปีที่ผ่านมาตามที่มีคนในประเทศอังกฤษอ้างเสมอ ประมาณปี 1800 สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ทรงมีความชื่นชอบในสุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียนและส่งสุนัขของพระองค์ลงประกวด ทำให้เกิดความนิยมปอมเมอเรเนียนอย่างแพร่หลายในประเทศอังกฤษ และเพราะความที่พระองค์โปรดปรานสุนัขที่มีขนาดเล็ก
     ผู้เพาะพันธุ์หลายคนเริ่มที่จะคัดสุนัขที่มีขนาดเล็ก ปัจจุบันปอมฯ ที่เราเห็นอยู่มีขนาดที่เล็กลงจากปอมฯ ที่เป็นต้นตำรับ 4-5 ปอนด์ ความฉลาดและความสามารถของปอมฯ ทำให้สุนัขพันธุ์นี้เป็นพระเอกในคณะละครสัตว์อย่างต่อเนื่อง ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเยอรมัน นิยมเลี้ยงกันเป็นฝูง บางแห่งทำเป็นสุนัขลากเลื่อนก็มี ปอมฯ เข้าสู่อังกฤษช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้รับความนิยมอย่างสูง เช่น มีการตั้งชมรมคือ English Pomeranian Club ในปี 1891 ภายหลังสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียทรงออกงานพร้อมสุนัขพันธุ์นี้บ่อยครั้ง ทำให้สุนัขพันธุ์นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
     ส่วนในประเทศอเมริกามีการปรากฎตัวครั้งแรกของปอมฯ ที่งานกระกวดสุนัขแห่งหนึ่งประมาณปี 1892 ไม่กี่ปีหลังจากนั้นมีการสั่งนำเข้าอีกเกือบ 200 ตัว มาตรฐานของปอมฯ โดยทั่วไป รูปรางจะเหมือนสุนัขจิ้งจอก มีขนาดกลาง ตาเป็นวงรีสีดำ หูเล็กตั้งตรง ลำตัวสั้นขนาดกระทัดรัด หางเป็นพวงแผ่อยู่บนส่วนหลัง
{pic-alt}

{pic-alt} ลักษณะนิสัย

     น้องปอมส่วนใหญ่มีการแสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด ร่าเริงและตื่นตัวอยู่เสมอ ซื่อสัตย์ รักเจ้าของ ขี้ประจบ แต่เป็นสุนัขค่อนข้างตกใจง่าย เห่ามาก ยิ่งตัวเล็กยิ่งเห่าเก่ง

{pic-alt} การดูแล

     การที่จะรักษาขนของสุนัขปอมเมอเรเนียน ให้สวยงามนั้นทำได้ง่ายมาก เจ้าของสุนัขใหม่ๆส่วนใหญ่จะเชื่อว่า จะต้องอาบน้ำให้สุนัขทุกสัปดาห์ และต้องคอยแปรงขนตลอด ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด และจะทำให้ขนของเค้าเสียอีกด้วย
     การอาบน้ำบ่อยเกินไป จะทำให้ขนของปอมเมอเรเนียนแห้ง บาง และทำให้ขนร่วงตลอดเวลา การใช้โลชั่น และน้ำยาทำความสะอาดชนิดต่างๆ ติดต่อกันก็จะทำให้ผิวหนังอักเสบได้ ส่วนใหญ่แม้ว่าขนชั้นนอกจะสกปรกแล้ว แต่ขนชั้นในก็จะยังคงสะอาดอยู่ ด้งนั้นการแปรงขน เพียงสัปดาห์ละครั้ง และใช้ฟองน้ำชุบน้ำสบู่อุ่นๆ ลูบขน จากนั้นจึงเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำสะอาดอุ่นๆ ซึ่งบิดพอหมาดๆ ก็นับว่า เพียงพอที่จะทำให้ขน ของปอมเมอเรเนียนอยู่ในสภาพดีแล้ว
    แชมพูที่ใช้อาบน้ำให้สุนัขควรเป็นแชมพูที่ผลิตโดยเฉพาะ เพราะจะไม่ส่งผลกระทบต่อการระคายเคืองของผิวหนังและสภาพขน ในขณะอาบน้ำอาจจะใช้สำลีอุดรูหูทั้งสองข้างก่อนอาบ หรือใช้มือกดใบหูทั้งสองข้างให้หลุบลง เวลาอาบน้ำควรราดน้ำให้เปียกทั่วตัวก่อนแล้วจึงเทแชมพูลงไปแล้วเกาให้ทั่วลำตัว หลังจากนั้นก็ใช้น้ำล้างสบู่ออกให้สะอาดหมดจด เมื่ออาบเสร็จก็ต้องเช็ดตัวให้แห้งพร้อมกับแปรงขนทุกครั้ง การเช็ดตัวให้แห้งเป็นการป้องกันความอับชื้นซึ่งเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค และช่วยป้องกันโรคปอดบวมได้
     ส่วนในด้านของการออกกำลังกายนั้น การออกกำลังกายมากๆ หรือใช่พื้นที่เยอะๆ ไม่ค่อยจำเป็นสำหรับปอมเมอเรเนียน แต่เราควรหันมาใส่ใจสักนิด ควรเริ่มพาปอมฯออกกำลังกายตั้งแต่ยังเล็กเพราะจะสามารถควบคุมเวลาในการออกกำลังกายไ ด้ ควรให้เดินเล่นวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 นาที ถ้าปล่อยให้วิ่งเล่นกลางแจ้งนานเกินไป(โดยเฉพาะเวลาที่แดดจัด)อาจทำให้สุนัขเกิดอาการช็อค อาการนี้อาจส่งผลให้สุนัขเสียชีวิตได้
     การพาน้องปอมไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้ปอมท้องไม่ผูก และสามารถป้องกันโรคได้อีกหลายๆชนิด การที่สุนัขได้วิ่งด้วยความเร็วและสนุกสนาน มีผลดีต่อหัวใจ หลอดเลือด กล้ามเนื้อ ต่อมขับต่างๆ ได้อุ่นเครื่องจนร้อน เมื่อกลับจากการออกกำลังกายก็สามารถกินอาหารได้มากขึ้น ยิ่งถ้าได้อาหารที่ถูกต้องยิ่งทำให้สุนัขมีสัดส่วนที่ดี ร่างกายที่แข็งแรง รวมถึงมันจะมี step การเคลื่อนไหวที่ดี และสวยงาม อย่างไรก็ดีไม่ควรให้สุนัขออกกำลังกายหลังจากที่กินอาหารอิ่มเต็มที่

{pic-alt}

{pic-alt} ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม

     เหมาะสำหรับผู้เลี้ยงที่มีเวลาเอาใจใส่ดูแลเรื่องความสวยงามของสุนัข จำเป็นต้องมีการดูแลตัดแต่งขนของสุนัขอยู่เสมอเพื่อความสวยงาม นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้เลี้ยงที่มีพื้นที่ในการเลี้ยงที่จำกัด

{pic-alt}

{pic-alt}

{pic-alt} ความน่ารักของสุนัขพันธุ์นี้

 


ปักกิ่ง (Pekingese)

ปราดเปรียว รักอิสระ สวย เริ่ด เชิด และหยิ่งในศักดิ์ศรี


คุณสมบัติของสุนัข


  • ขนาดตัว
    เล็ก
  • ดูแลรักษา
    ความสะอาด
    1 ครั้ง/สัปดาห์

  • ความยาวขน
    ยาว

  • ออกกำลังกาย
    1 ครั้ง/สัปดาห์
  • พละกำลัง/
    ความแข็งแรง
    น้อย
  • เป็นมิตร
    กับเด็ก
    น้อย
  • ทนต่อ
    อากาศร้อน
    น้อย
  • ทนต่อ
    อากาศหนาว
    ปานกลาง
  • พื้นที่
    ในการเลี้ยง
    น้อย





{pic-alt} ลักษณะทั่วไป

   สุนัข พันธุ์ปักกิ่งมีบุคลิกแบบสวย เริ่ด เชิด และหยิ่งในศักดิ์ศรี พร้อมด้วยอาการดื้อดึงแต่พองาม เป็นสุนัขที่มีความเป็นตัวของตัวเอง มีท่าทีการเคลื่อนไหวอย่างสง่างามระเหิดระหง อารมณ์ดีแต่สงบเงียบ ไม่เอะอะโวยวายหรือร่าเริงเกินเหตุ แต่ก็ใช่ว่าจะนิ่งจนน่าเบื่อ ถ้าอยู่กับเจ้านายหรือผู้ที่คุ้นเคยมันก็จะเล่นด้วยอย่างสนุกสนานน่ารัก นอกจากนี้ปักกิ่งยังเป็นสุนัขที่กล้าหาญ ไม่เคยมีประวัติเรื่องวิ่งหนีหางจุกตูด เป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรง ทรหดอดทนและเลี้ยงง่าย ทั้งยังเป็นมิตรและซื่อสัตย์ต่อเจ้าของอย่างยิ่งด้วย

{pic-alt} ความเป็นมา

   มีหลักฐานว่าคนจีนเลี้ยงสุนัขขนาดเล็กมาตั้งแต่ 1500 ปีก่อนแล้ว ในปี ค.ศ. 565 พระเจ้าจักรพรรดิประเทศจีนทรงพระราชทานนามสุนัขของพระองค์ว่า "ชิ ซู" หรือ "เสือแดง" เป็นสุนัขเปอร์เซียน เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงม้า "เสือแดง" จะขึ้นไปนั่งบนตะกร้าที่ผูกไว้ด้านหน้าอานม้า ในปี ค.ศ. 620 มีบันทึกว่าสุนัขตัวผู้ตัวเมียคู่หนึ่ง สูงประมาณ 6 นิ้ว ถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายจักรพรรดิเกาสู
     บันทึกอ้างว่าสุนัขคู่นี้มีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถนำทางม้าในเวลากลางคืน หลักฐานทำนองนี้สืบเนื่องกันมากจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 เมื่อราชวงศ์ของกุบไลข่านถูกพิชิตลง บันทึกหลักฐานต่างๆ ก็หมดสิ้นลงไปด้วย เป็นเวลาสืบเนื่อง 33 ปี เรารู้แต่ว่าคนจีนหันมานิยมเลี้ยงแมวแทนสุนัข โดยเฉพาะในสังคมชั้นสูง ธรรมเนียมการเลี้ยงสุนัขขนาดเล็กของจีนมาพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดระหว่างปี ค.ศ. 1820 ถึง 1850 ในช่วงเวลานั้นมีสุนัขอยู่หลายพันธุ์ในนครปักกิ่ง พวกขันที 4000 คน ยังมีหน้าที่เฉพาะในการผลิตเพาะสุนัขแบบที่เราเรียกว่า "พันธุ์ปักกิ่ง" ด้วย
     พระนางซูสีไทเฮาทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงกิจกรรมนี้ พระนางยังทรงกระตุ้นให้สร้างรูปแบบพันธุ์คล้ายกับ "สุนัขสิงห์โต" แบบเก่า กิจกรรมข้อหนึ่งก็คือจัดร่างกฎเกณฑ์แบบเฉพาะของสุนัข ข้อความที่นำมาเสนอแบบย่อๆ มีดังนี้ "จงให้มันสวมคลุมขนแห่งความสง่ารอบๆ คอ ขาคู่หน้าของมันจะต้องโค้ง เพื่อไม่ให้มันเดินออกไปไกลๆ หรือเดินออกนอกเขตพระราชฐาน จงสอนมันให้ละเว้นการเตร็ดเตร่ไปมา ให้มันมีขนเหมือนสิงห์โต เหมาะที่จะอุ้มไว้ในชายแขนเสื้อคลุม …" กฤษฎีกานี้ยังกำหนดต่อไปถึงอาหารของสุนัข เช่น "หูฉลาม" "ตับนก" และ "ส่วนอกนกกระทา" เราอาจจะไม่ถือเรื่องนี้เป็นจริงเป็นจังนัก อย่างไรก็ตามหลักฐานนี้ ทำให้เรารู้ว่ามีสุนัขพันธุ์ปักกิ่งเกิดขึ้นมาแล้ว และมักจะพบสุนัขพันธุ์นี้ในพระราชวังเท่านั้น ในสมัยก่อนผู้ใดขโมยสุนัขนี้จะได้รับโทษถึงประหารชีวิต
     พระราชวังแห่งปักกิ่งถูกชาวต่างชาติบุกเข้ายึดครองเมื่อปี ค.ศ. 1860 ก่อนการสูญเสียมีคำสั่งจากพระราชวงศ์ว่า  ให้สุนัขตายไปเสียดีกว่า จะให้ตกอยู่ในมือของคนต่างชาติ เจ้าฟ้าหญิงพระองค์หนึ่งไม่ยอมเสด็จหนี ทั้งไม่ยอมให้ทหารดรากูนเข้าจับกุมด้วย ทรงปลงพระชนม์ชีพของพระองค์เอง แต่ไม่ได้ทำลายสุนัขที่เลี้ยงไว้ สุนัขปักกิ่งสี่ตัวถูกทหารยึดได้ ตัวหนึ่งถูกส่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระราชินีวิคตอเรีย อีก 3 ตัวที่เหลือยุคแห่งริชมอนด์เลี้ยงดูไว้ ต่อมาก็มีผู้นำตัวอื่นๆ เข้าสู่อังกฤษอีก ตัวหนึ่งได้นำถวายควีนวิคตอเรีย ส่วนอีก 3 ตัวมอบให้ LORD HAY และได้แพร่พันธุ์กระจายไปทั่วไปโลก ซึ่งก็หมายถึงการเลี้ยงดูเพาะสร้างสายพันธุ์ที่ตามมา
     เรื่องราวเหล่านี้อ่านแล้วเหมือนนิยาย แต่ก็เป็นเรื่องจริง เรื่องคล้ายนิยายและความเกี่ยวพันกับราชวงศ์ซึ่งเป็นของสูงนี้ ทำให้พันธุ์ปักกิ่งได้รับความนิยมอย่างใหญ่หลวง ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น LION DOG SUN DOG หรือ STEEVE DOG ปักกิ่งเป็นสุนัขขนาดเล็กที่น่าสนใจที่สุด และมีบุคลิกลักษณะที่ผิดธรรมดาที่สุด มันมีลักษณะผสมกันประหลาดๆ ของความขบขันและความทรนง เป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์ด้วยทั้งยังมีความหัวแข็งดื้อรั้นอย่างน่าทึ่ง บางครั้งก็ไม่ยอมรับคำสั่งโดยเด็ดขาด พวกมันชอบเก้าอี้นวมบุแพรไหม แต่ถ้ามีอารมณ์สนุกแล้วก็อกไปวิ่งไล่จับกระต่ายเลย
     ลักษณะเฉพาะตัวเหล่านี้ทำให้สุนัขพันธุ์นี้พุ่งขึ้นไปสู่ระดับสุดยอด พันธุ์ปักกิ่งไม่เคยหลุดออกจากยี่สิบอันดับแรกสุนัขยอดนิยมของอังกฤษ (Top Twenty) และยังคงติดอันดับสูงมาจนทุกวันนี้ สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้นทั้งๆ ที่พันธุ์ปักกิ่งเพิ่งเข้าไปเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ก็เป็นสุนัขระดับยอดนิยมแล้ว

{pic-alt}


{pic-alt} ลักษณะนิสัย

     สุนัขพันธุ์ ปักกิ่ง ปราศจากความกลัวต่อทุกสิ่งที่ทำให้ เขาโกรธ ไม่สนใจแม้กระทั่งขนาดสุนัขตัวอื่นหรือแม้แต่คนแปลกหน้า ความภักดีคือสิ่งที่บ่งบอกคุณลักษณะสุนัขพันธุ์นี้ได้ดีที่ สุดพวกเขาจะป้องกันทุกสิ่งที่พวกเขาคิดเป็นของพวกเขา

{pic-alt} การดูแล

     ปักกิ่ง ต้องการการเอาใจใส่ดูแลสัปดาห์ละครั้ง เพราะมีขนที่หนาและมีจำนวนมาก จึงต้องได้รับการแปรงขน และต้องทำความสะอาดขนเป็นประจำ นอกจากนั้นยังต้องทำความสะอาดบริเวณตา หู และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวผู้ สัปดาห์ละครั้ง และตัดเล็บนิ้วเท้าให้สั้นอยู่เสมอ ปักกิ่ง ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงนอกบ้าน เนื่องจากเป็น สุนัขกลุ่มทอยซึ่งจะรักความสะดวกสบาย และความอบอุ่นของการใช้ชีวิตภายในบ้าน ควรจูงสุนัขเดินบนแข็งๆ สม่ำเสมอแต่ไม่ต้องไกลมาก
{pic-alt}


{pic-alt} ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม

     สุนัขปักกิ่งเหมาะกับผู้เลี้ยงทุกเพศทุกวัย

{pic-alt} ข้อควรจำ

     ปักกิ่ง ไม่ใช่สุนัขที่จะนอนเล่นบนตักคุณอยู่นิ่งๆ แม้ว่าเขาจะชอบถูกกอดรัดเป็นครั้งคราวและอาจจู้จี้ บ้าง เขาอยู่ได้กับคนทุกวัยและสามารถเป็นเพื่อนไป ได้ตลอดชีวิต รักสนุกและชอบเล่น ตอนเป็นลูกสุนัขควรมีของเล่นให้เขาได้เล่น และเมื่อพวกเขาโตขึ้นพวกเขาก็จะเล่นกับของเล่น หรือลูกบอลบนสนามหญ้าภายในบ้าน ปักกิ่ง ยอมรับสภาพแวดล้อมทุกแบบแต่ชอบอยู่ในพื้นที่ของตนมากกว่า
  
{pic-alt}


{pic-alt} ความน่ารักของสุนัขพันธุ์นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น